IVF และ ICSI คืออะไร


บริการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF: In Vitro Fertilization) และ อิ๊กซี่ (ICSI: Intracytoplasmic Sperm Injection)

gitfertility

gitfertility
บริการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF: In Vitro Fertilization) และ อิ๊กซี่ (ICSI: Intracytoplasmic Sperm Injection)

ที่ Gift Fertility Centre Bangkok เราให้บริการทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยวิธี IVF (In Vitro Fertilization) และ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างได้ผล ให้คุณและคนรักอุ่นใจด้วยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ปลอดเชื้อ ได้มาตรฐานสากล มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ทุกขั้นตอนดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์เจริญพันธุ์ที่มีประสบการณ์ในการรักษาผู้มีบุตรยากจากโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา รับฟังความต้องการ และวางแผนการรักษาให้เหมาะสมที่สุดสำหรับท่าน ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ได้มาตรฐานทั้งทางด้านการวินิจฉัยและการรักษาจนกว่าจะประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์และถึงวันที่ลูกน้อยลืมตาดูโลกเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับครอบครัว

gitfertility
การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF: In Vitro Fertilization) คืออะไร

การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization) หรือ IVF คือ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นการผสมไข่และอสุจิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ โดยในการทำเด็กหลอดแก้ว IVF นี้ แพทย์จะคัดเลือกเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหญิงหรือเซลล์ไข่ และอสุจิจากฝ่ายชายเพื่อนำมาผสมกันจนกระทั่งเกิดการปฏิสนธิ จากนั้นจึงเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในจานเพาะเลี้ยงต่อจนถึงระยะที่เหมาะสมหรือระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ก่อนนำเอาตัวอ่อนย้ายกลับเข้าไปฝังในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตและฝังตัวอย่างเหมาะสม ในกรณีที่มีตัวอ่อนเหลือจากการทำ IVF แพทย์จะนำตัวอ่อนที่สมบูรณ์แข็งแรงทำการแช่แข็งและเก็บไว้ใช้ในการรักษารอบต่อไป การทำ IVF จึงเป็นการเพิ่มโอกาสให้ตัวอ่อนเติบโตจนพร้อมฝังตัว เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ และเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้มีบุตรยากวิธีหนึ่ง

gitfertility
การทำอิ๊กซี่ (ICSI: Intracytoplasmic Sperm Injection) คืออะไร

การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection) หรือ ICSI คือ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ โดยใช้เข็มขนาดเล็กฉีดอสุจิ 1 ตัวเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรงแบบเจาะจงเพื่อช่วยให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์จะคัดเลือกอสุจิตัวที่แข็งแรง สมบูรณ์ และเคลื่อนไหวตัวที่ดีที่สุดเพียง 1 ตัวจากฝ่ายชาย และฉีดเข้าสู่ไข่ 1 ใบของฝ่ายหญิงที่มีการเก็บไข่รอล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่อสุจิอาจต้องเจอเมื่อพยายามจะเจาะเข้าไปในไข่ จากนั้น แพทย์จะเพาะเลี้ยงจนได้เป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) และนำเอาตัวอ่อนย้ายกลับเข้าไปฝังในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตและฝังตัวอย่างเหมาะสมในครรภ์มารดา ปัจจุบัน การทำ ICSI ถือเป็นวิธีรักษาภาวะผู้มีบุตรยากที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่น ๆ มีความปลอดภัย แม่นยำสูง และได้รับความนิยมไปทั่วโลก

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว IVF และ ICSI


ขั้นตอนการทำ IVF
gitfertility
6. การเลี้ยงตัวอ่อน (Embryo Culture):

การเลี้ยงตัวอ่อนภายหลังการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (Blastocyst Culture) คือ การเลี้ยงตัวอ่อนภายหลังจากการปฏิสนธิของเชื้ออสุจิและเซลล์ไข่ในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาให้มีความใกล้เคียงและเลียนแบบภายในร่างกายมนุษย์ให้ได้มากที่สุด โดยจะมีอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง ก๊าซในปริมาณที่เหมาะสม และปลอดเชื้อ หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ในกระบวนการนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมและตัวอ่อนสมบูรณ์ที่สุดก่อนจะถูกย้ายและนำกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงในขั้นตอนต่อไป

gitfertility
7. การย้ายตัวอ่อน (Embryo Transfer):

การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือการย้ายตัวอ่อนรอบสด และการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง 7.1 การย้ายตัวอ่อนรอบสด คือ เป็นการย้ายตัวอ่อนในรอบที่มีการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ทันที โดยแพทย์จะทำหลังจากการนำไข่และอสุจิปฎิสนธินอกร่างกายและเลี้ยงตัวอ่อนจนอยู่ในระยะ 5 – 6 วัน หรือระยะ Blastocyst แล้ว ถ้าหากตัวอ่อนเติบโตดี แข็งแรง แพทย์ก็จะนัดคนไข้มาย้ายตัวอ่อนที่คัดเลือกเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป 7.2 การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง คือ การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกในรอบเดือนที่แพทย์ประเมินแล้วว่าผนังโพรงมดลูกนั้นมีความพร้อม โดยแพทย์จะทำการเก็บตัวอ่อนแช่แข็งเก็บไว้ และจะนำมาละลายในวันที่พร้อมสำหรับขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกและจากนั้นแพทย์จะนัดเข้ามาเพื่อตรวจติดตามการผลการตั้งครรภ์ต่อไป

ขั้นตอนการทำ ICSI

gitfertility
5. การปฏิสนธิ (Fertilization):

แพทย์นำไข่และอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกแล้วมาผสมกันในจานเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการและทิ้งระยะเวลาอย่างเหมาะสมเพื่อรอให้เกิดการปฏิสนธิ โดยแบ่งเป็น 2 วิธี ดังนั้น ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ซึ่งขั้นตอนและกระบวนการจะเหมือนการทำ IVF (In Vitro Fertilization) แต่วิธีการทำ ICSI จะเพิ่มอีกหนึ่งตัวช่วยในกระบวนการปฏิสนธิ โดยวิธีการคัดอสุจิที่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงตัวเดียว และใช้เข็มแก้วที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กมากเจาะไปที่เปลือกของเซลล์ไข่ แล้วฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก หรือในกรณีที่เคยล้มเหลวจากการทำ IVF

gitfertility
6. การเลี้ยงตัวอ่อน (Embryo Culture):

การเลี้ยงตัวอ่อนภายหลังการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (Blastocyst Culture) คือ การเลี้ยงตัวอ่อนภายหลังจากการปฏิสนธิของเชื้ออสุจิและเซลล์ไข่ในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาให้มีความใกล้เคียงและเลียนแบบภายในร่างกายมนุษย์ให้ได้มากที่สุด โดยจะมีอุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-ด่าง ก๊าซในปริมาณที่เหมาะสม และปลอดเชื้อ หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) ในกระบวนการนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมและตัวอ่อนสมบูรณ์ที่สุดก่อนจะถูกย้ายและนำกลับเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงในขั้นตอนต่อไป

gitfertility
7. การย้ายตัวอ่อน (Embryo Transfer):

การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือการย้ายตัวอ่อนรอบสด และการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง 7.1 การย้ายตัวอ่อนรอบสด คือ เป็นการย้ายตัวอ่อนในรอบที่มีการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ทันที โดยแพทย์จะทำหลังจากการนำไข่และอสุจิปฎิสนธินอกร่างกายและเลี้ยงตัวอ่อนจนอยู่ในระยะ 5 – 6 วัน หรือระยะ Blastocyst แล้ว ถ้าหากตัวอ่อนเติบโตดี แข็งแรง แพทย์ก็จะนัดคนไข้มาย้ายตัวอ่อนที่คัดเลือกเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป 7.2 การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง คือ การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกในรอบเดือนที่แพทย์ประเมินแล้วว่าผนังโพรงมดลูกนั้นมีความพร้อม โดยแพทย์จะทำการเก็บตัวอ่อนแช่แข็งเก็บไว้ และจะนำมาละลายในวันที่พร้อมสำหรับขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกและจากนั้นแพทย์จะนัดเข้ามาเพื่อตรวจติดตามการผลการตั้งครรภ์ต่อไป

gitfertility
โอกาสความสำเร็จ
ของการทำ IVF และ ICSI

โอกาสความสำเร็จของ IVF

60 - 70 %

อัตราความสำเร็จของการทำ IVF ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของฝ่ายหญิง คุณภาพของไข่ ความสมบูรณ์ของอสุจิ เทคนิคที่ใช้ และประสบการณ์ของแพทย์ โดยมีอัตราปฏิสนธิกับไข่สำเร็จอยู่ที่ประมาณ 60-70%

โอกาสความสำเร็จของ ICSI

80 - 90 %

อัตราความสำเร็จของการทำ ICSI ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของฝ่ายหญิง คุณภาพของไข่ ความสมบูรณ์ของอสุจิ เทคนิคที่ใช้ และประสบการณ์ของแพทย์ โดยมีอัตราปฏิสนธิกับไข่สำเร็จอยู่ที่ประมาณ 70-80%

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำ IVF และ ICSI


สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำ IVF และ ICSI ได้สำเร็จขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

ข้อควรปฏิบัติหลังทำ IVF และ ICSI


การทำ IVF และการทำ ICSI คือ การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายหญิงอย่างมาก ผู้เข้ารับการรักษาด้วยการทำ IVF และการทำ ICSI จึงควรดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะในช่วง 7 วันแรกหลังการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่มดลูกเพื่อช่วยให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวเข้าสู่โพรงมดลูกและเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด เช่น
gitfertility
การทำ IVF และ ICSI เหมาะกับใคร

การทำเด็กหลอดแก้วนั้น เหมาะสมกับคู่สมรสที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก คือ พยายามมีบุตรเกินกว่า 1 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จ โดยที่อาจจะเคยรักษาด้วยวิธีอื่นมาก่อนหน้านี้แล้วยังไม่ตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่มีบุตรยากด้วยปัจจัยทางด้านสุขภาพและอายุร่วมด้วย

  • เหมาะกับเพศหญิงที่มีปัญหา ดังนี้
  1. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ทำให้ปริมาณไข่เหลือน้อยลง (Low Ovarian Reserve)
  2. ผู้ที่ท่อนำไข่มีความผิดปกติ (Tubal Factor) เช่น ท่อนำไข่อุดตันตีบหรือคดงอ บวมน้ำหรือร่างกายไม่มีท่อนำไข่(ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด) หรือเคยผ่าตัดเอาท่อนำไข่ออก
  3. ผู้หญิงที่เคยมีประวัติทำหมันแล้ว แต่ต้องการมีบุตรเพิ่มโดยไม่ต้องการผ่าตัดเพื่อต่อท่อนำไข่
  4. มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
  5. เกิดจากภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ทำให้มีปัญหาไข่ไม่ตกเรื้อรัง
  6. ผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากพันธุกรรมบางชนิด เช่น เคยตั้งครรภ์แล้วได้บุตรพิการ หรือแท้งบ่อยเนื่องจากโครโมโซมผิดปกติ
  7. ผู้ที่ต้องผ่าตัดรังไข่ เช่น ถุงน้ำในรังไข่ เนื้องอกในรังไข่ หรือช็อกโกแลตซีสต์
  8. เพศหญิงที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็ง หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงต่าง ๆ (ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทีมแพทย์)
  9. ภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ (Unexplaned Infertile)
  • เหมาะกับเพศชายที่มีปัญหา ดังนี้
  1. เพศชายที่มีปัญหาน้ำเชื้อมีอสุจิน้อยกว่า 15 ล้านตัว/มิลลิลิตร (Oligozoospermia)
  2. เพศชายที่มีภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ (Unexplaned Infertile)
  3. เพศชายที่พบว่าการทำงานของอสุจิมีความผิดปกติ เช่น อสุจิมีรูปร่างผิดปกติ (Teratozoospermia), มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ(Asthenozoospermia), ไม่พบอสุจิในน้ำเชื้อ (Azoospermia) หรือไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้อออกมาได้ (Aspermia)
  4. เพศชายที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็ง หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงต่าง ๆ (ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทีมแพทย์)

ข้อดีของการทำ IVF และ ICSI

ราคาค่าบริการทำเด็กหลอดแก้ว IVF และ ICSI
รายละเอียดค่าบริการการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF: In Vitro Fertilization)

ค่าใช้จ่ายในการทำ IVF แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละคลินิก โดยทั่วไปแล้ว ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 200,000 – 450,000 บาท

รายละเอียดค่าบริการการทำอี๊กซี่ (ICSI: Intracytoplasmic Sperm Injection)

ค่าใช้จ่ายในการทำ ICSI แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละคลินิก โดยทั่วไปแล้ว ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 200,000 – 450,000 บาท

ข้อแตกต่างของการทำเด็กหลอดแก้วแต่ละประเภท

ข้อแตกต่างของการทำ IVF และ Gift

การทำ Gift (Gamete Intrafallopian Transfer) หรือที่เรียกกันว่า การทำกิฟต์ คือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยการเจริญพันธุ์ โดยการดูดเอาไข่ที่ถูกกระตุ้นออกมาจากรังไข่ของฝ่ายหญิงผ่านทางหน้าท้อง แล้วนำมาผสมกับตัวอสุจิที่ผ่านการคัดเลือก จากนั้นจึงนำกลับเข้าไปในท่อนำไข่ทันทีเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติ ดังนั้น ผู้เข้ารับการรักษาจึงต้องเข้าห้องผ่าตัด มีการใช้ยาสลบ มีการกรีดแผลเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง และต้องนอนพักฟื้น 1 คืน ในขณะที่การทำเด็กหลอดแก้ว IVF คือ เทคนิคใหม่ที่ใช้วิธีดูดไข่ออกมาทางช่องคลอดเพื่อปฏิสนธิภายนอกร่างกาย พักฟื้นแค่ 1-2 ชั่วโมงก็กลับบ้านได้

ข้อแตกต่างของการทำ IVF และ IUI

การทำเด็กหลอดแก้ว IVF คือ การผสมไข่และอสุจิในจานเพาะเลี้ยง โดยปล่อยให้อสุจิเข้าผสมกับไข่เองตามธรรมชาติ และเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ ก่อนย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งถือเป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ส่วนการทำ IUI คือ การฉีดเชื้อผสมเทียมเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรงเพื่อเปิดโอกาสให้อสุจิจำนวนมากเข้าถึงท่อนำไข่เพื่อผสมกับไข่ได้มากขึ้น ถือเป็นวิธีการปฏิสนธิในร่างกาย ลดอัตราการตายของตัวอสุจิ และเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์เช่นเดียวกับการทำ IVF

ข้อแตกต่างของการทำ ICSI และ Gift

การทำ Gift และการทำ ICSI เป็นการรักษาผู้มีบุตรยากโดยการปฏิสนธิภายนอกร่างกายเหมือนกัน ต่างกันเพียงวิธีการนำตัวอ่อนกลับเข้าสู่มดลูก โดยการทำ Gift เป็นการนำอสุจิและไข่มาผสมกันจนเกิดเป็นตัวอ่อน จากนั้นจึงผ่าตัดหน้าท้องเพื่อใส่ตัวอ่อนกลับเข้าไปยังท่อนำไข่ และปล่อยให้ตัวอ่อนเคลื่อนไปฝังตัวในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์เอง ส่วนการทำ ICSI จะเป็นการคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงที่สุด 1 ตัวฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่ และเลี้ยงจนเกิดเป็นตัวอ่อน จากนั้นจะย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก โดยไม่ต้องมีการผ่าตัด และสามารถตรวจดูโครโมโซมของตัวอ่อนเพื่อลดโอกาสการเกิดความผิดปกติทางโครโมโซม และเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

ข้อแตกต่างของการทำ ICSI และ IUI

การทำ ICSI คือ เทคโนโลยีเพื่อการเจริญพันธุ์ที่เริ่มจากการกระตุ้นไข่และเก็บออกมาจำนวนหลายใบ เพื่อนำไข่และเชื้ออสุจิมาปฏิสนธิภายนอกร่างกายโดยการคัดเลือกอสุจิและไข่ที่ดีที่สุดมาผสมกัน ซึ่งเป็นการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง หลังจากนั้นจึงเพาะเลี้ยงให้เป็นตัวอ่อนและฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูก โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้อสุจิได้ผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น ส่วนการทำ IUI คือ เทคโนโลยีเพื่อการเจริญพันธุ์ที่มีการปฏิสนธิในร่างกายให้ไข่กับอสุจิผสมกันเองตามธรรมชาติ เริ่มต้นจากการกระตุ้นการตกไข่ จากนั้นจึงฉีดอสุจิที่เตรียมจากห้องปฏิบัติการและผ่านการคัดเลือกคุณภาพเข้าสู่โพรงมดลูกในวันที่ฝ่ายหญิงมีการตกไข่และปล่อยให้อสุจิกับไข่ปฏิสนธิกันเอง

คำถามที่พบบ่อย


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF: In Vitro Fertilization
Q: การทำ IVF เจ็บหรือไม่?
A: โดยทั่วไป ผู้รับบริการการทำ IVF จะไม่รู้สึกเจ็บ แต่จะรู้สึกอึดอัดเล็กน้อยหรือรู้สึกไม่สบายตัวบ้างในระหว่างการใช้เข็มฉีดเข้าร่างกายหรือในขั้นตอนการกระตุ้นไข่ที่ต้องฉีดยาใต้ผิวหนัง ในส่วนการเก็บไข่ มักจะทำโดยใช้ยาสลบ เพราะฉะนั้นจึงมีความเจ็บปวดน้อยมาก ในบางรายอาจพบว่ามีอาการปวดหน่วงเล็กน้อยบริเวณท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปเองหลังการเก็บไข่ประมาณ 1-2 วัน
Q: การทำ IVF ใช้เวลานานแค่ไหน?
A: การทำ IVF ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน นับตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของร่างกาย ประเมินร่างกาย กระตุ้นให้ไข่ตก เก็บไข่ ปฏิสนธิ เพาะเลี้ยง และย้ายตัวอ่อน จนถึงขั้นตอนการทดสอบว่าตั้งครรภ์หรือไม่
Q: การทำ IVF มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?
A: ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการทำ IVF คือ อาการปวดท้อง ท้องอืด กดเจ็บที่บริเวณช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อยากระตุ้นมากเกินไป (OHSS: Ovarian Hyperstimulation Syndrome) รวมถึงอาการคล้ายกับคนตั้งครรภ์ เช่น ปวดเกร็งท้องน้อย เต้านมคัด ปวดเมื่อยตามร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจพบอาการนอนไม่หลับเนื่องจากความวิตกกังวลของผู้เข้ารับบริการได้บ้าง แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเองและไม่มีผลข้างเคียงในระยะยาว
Q: การทำ IVF ปลอดภัยหรือไม่?
A: การทำ IVF เป็นวิธีการที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงและการติดเชื้อจากการผ่าตัด แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้บ้าง เช่น การตั้งครรภ์แฝด มีเลือดออกหรือติดเชื้อหลังการเก็บไข่ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งพบได้น้อยมาก แต่การเลือกรับบริการทำ IVF ในคลินิกหรือสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานและปลอดเชื้อจะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ลงได้อย่างมาก